กำจัดขยะอาหารด้วยเครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้าให้ผลที่ยั่งยืนแค่ไหน คุ้มค่า หรือแค่สิ้นเปลือง? 

0
composition-compost-made-rotten-food

ปัจจุบัน กระแสการรักษ์โลก ได้ถูกกระตุ้นในทุกภาคส่วน โดยมีการหยิบยกปัญหาเรื่องขยะขึ้นมาพูดถึงกันมากขึ้น รวมไปถึงแนวทางแก้ไขและการจัดการปัญหาขยะแต่ละประเภท แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นประเด็นของขยะพลาสติก เนื่องจากเป็นขยะย่อยสลายยาก แต่ร้อยละ 50 หรืออาจมากกว่าครึ่งของขยะมูลฝอยทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร พืช ผัก ผลไม้ ใบไม้ ซึ่งสามารถย่อยสลายได้เอง แต่ก็ค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร และถ้าไม่มีวิธีจัดการที่เหมาะสม ก็จะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ส่งกลิ่นเหม็นเน่า แถมยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดโลกร้อน 

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มี Food Waste หรือ ขยะอาหารถูกทิ้งเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งขยะอาหารกว่า 2.5 ล้านตันต่อปี ที่ถูกทิ้งลงถังขยะ โดยไม่มีวิธีการกำจัดที่ถูกต้อง ได้แต่ไปกองรวมกันที่หลุมฝังกลบ (landfills) เพื่อรอการฝังและกลบให้มันย่อยสลายเอง แต่สิ่งที่ตามมาจากนั้นคือ ก๊าซมีเทน (Methane) ปริมาณมหาศาล ที่ถูกปลดปล่อยในระหว่างกระบวนการย่อยสารอินทรีย์ในขยะอาหาร เชื่อว่าหลายคนย่อมรู้จัก หรือคุ้นหูกันอยู่บ้างกับ ก๊าซมีเทน หนึ่งในมลพิษที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกนั่นเอง 

เครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้าช่วยแก้ปัญหาขยะเศษอาหารได้ยั่งยืนแค่ไหน

เชื่อไหมว่า 40% ของอาหารทั่วโลก ไม่มีโอกาสได้ขึ้นโต๊ะอาหาร และไปไม่ถึงผู้บริโภค แต่ไปจบลงที่ถังขยะระหว่างทาง กลายเป็นขยะอาหาร ใช้ทรัพยากรโลกโดยสิ้นเปลือง เพราะการผลิตอาหารทุกชนิด ล้วนแต่ใช้ต้นทุนจากทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ อากาศ และพลังงาน ตั้งแต่การผลิตในฟาร์ม ไปจนถึงการขนส่ง การคัดจัดแต่ง และจัดจำหน่ายในรูปแบบต่าง ๆ ได้มีอาหารที่ถูกคัดทิ้งเป็นจำนวนมาก เพราะไม่สวยงาม หรือเน่าเสียระหว่างการเดินทางไปยังผู้บริโภค ทำให้ 1/3 ของอาหารทั่วโลกกลายเป็นขยะแทนที่จะเป็นอาหารประทังชีวิต แถมยังสิ้นเปลืองงบประมาณในการกำจัดขยะ และยังส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน รวมไปถึงระบบนิเวศน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศจากก๊าซมีเทน มลพิษทางน้ำจากการปนเปื้อนสารพิษที่ไหลซึมผ่านลงดินและแหล่งน้ำต่าง ๆ จนสู่ท้องทะเล  

หลายหน่วยงานต่าง ๆ พยายามหาวิธีแก้ไข โดยเน้นในการลดความสิ้นเปลืองของทรัพยากรตั้งแต่ต้น ทั้งการออกภาษีขยะอาหาร เพื่อควบคุมโรงงานและแหล่งผลิตต่าง ๆ ไม่ให้ผลิตอาหารออกมากเกินไป การนำเศษอาหารที่ไม่เหมาะกับการบริโภคไปรีไซเคิลเป็นพลังงานความร้อน หรือนำไปทำปุ๋ยเพื่อการเพาะปลูก เพื่อลดปริมาณขยะอาหารไปสู่ปลายทางยังบ่อขยะ แม้ว่าในความเป็นจริง ปัญหาขยะอาหารไม่ได้มีสาเหตุจากอาหารเหลือในครัวเรือนเท่านัน แต่จะดีกว่าไหม หากทุกบ้านและในทุกสถานที่จะมีเครื่องกำจัดเศษอาหารในครัวเรือน ต่อให้คุณเป็นคนใส่ใจสิ่งแวดล้อม หรือไม่ได้สนใจต่อโลกมากนัก แต่การเปลี่ยนขยะอาหารให้กลายเป็นปุ๋ยแทน นับว่าเป็นการกำจัดขยะอาหารที่ย่อยสลายได้อย่างสิ้นซาก จบปัญหา มด หนู แมลงสาบมากวนใจได้ชงัด ถุงขยะก็ใช้น้อยลง ประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีก พนักงานเก็บขยะก็เหนื่อยน้อยลง ลดปริมาณขยะเศษอาหารไปยังหลุมฝังกลบได้มากมหาศาล ส่วนขยะอื่น ๆ ก็สามารถนำไปรีไซเคิลได้เพราะไม่มีการปนเปื้อนจากเศษอาหาร ส่วนซากเศษอาหารที่ถูกกำจัด ได้กลายเป็นปุ๋ยที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุสำคัญต่อพืช นำไปใส่บำรุงและปลูกต้นไม้ให้เติบโตและเก็บเกี่ยวมาเป็นอาหารได้อีก เข้าสู่ระบบหมุนเวียนอย่างแท้จริง 

เครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้ากินไฟมากไหม 

เครื่องหมักปุ๋ยแบบไฟฟ้า หรือบางคนเรียกว่าถังหมักเศษอาหารในบ้าน จะมีระบบการทำงานคล้ายกับตู้เย็น ที่ถึงแม้จะต้องเสียบปลั๊กตลอดเวลา เพื่อเป็นการวอร์มเชื้อจุลินทรีย์ภายในถังไม่ให้ตาย และเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเครื่องหมักไฟฟ้า สามารถทำงานได้ตลอดเวลา ทำให้เราเทเศษอาหารลงไปเมื่อไรก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เครื่องทำงานเป็นรอบ ๆ แบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เช่น กาต้มน้ำ หรือเครื่องชงกาแฟ แต่เจ้าเครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้าที่ว่านี้กลับกินไฟน้อยมาก เนื่องจากหลักการทำงานรอบมอเตอร์ต่ำ ทำให้มีอัตราการใช้ไฟเฉลี่ยที่ประมาณ 65 วัตต์ / ชั่วโมง และด้วยที่สามารถย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยได้เร็วไม่เกิน 48 ชั่วโมง ทำให้ใครหลายคนคิดว่า ค่าไฟต้องแพงแน่ ๆ เพราะทำงานเร็วมาก เร็วกว่าการหมักปุ๋ยแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้เวลาเกือบเดือน ทำให้แอบกังวลว่าค่าไฟต้องแพงแน่ ๆ  เพราะเครื่องทำงานเร็วมาก และยังต้องเสียบปลั๊กตลอดเวลา แต่ไม่เลย เพราะค่าไฟในแต่ละเดือนที่ต้องจ่าย อยู่ในเรทที่ไม่เกิน 2xx บาท! 

เครื่องหมักไฟฟ้าใช้คุ้มไหม 

แม้ว่าเครื่องหมักปุ๋ยนี้จะเป็นระบบไฟฟ้า และต้องเสียบปลั๊กไว้ตลอดเวลา แต่อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ระบบการกินไฟนั้นเหมือนกับตู้เย็น ด้วยความที่ต้องไฟอยู่ตลอดเวลา ผู้ผลิตจึงออกแบบระบบการทำงานแบบประหยัดพลังงาน มอเตอร์ต่ำ หมุนรอบอัตโนมัติ กินไฟน้อย เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานให้ได้เหมือนกระเพาะอาหารของคนเรา ที่เทอาหารลงท้อง (ลงเครื่อง) เมื่อไร น้ำย่อยในกระเพาะก็สามารถย่อยอาหารได้ตลอดเวลา แบบไม่มีวันหยุดราชการ จุลินทรีย์ในเครื่องหมักปุ๋ยก็เหมือนน้ำย่อยในกระเพาะของเรา ที่เทเศษอาหารลงเครื่องเมื่อไร ก็พร้อมที่จะกรูกันเข้าโจมตีกัดกิน กลายเป็นการย่อยสลายเศษอาหารต่าง ๆ แทบไม่เหลือเค้าโครงเดิม เพียงแค่ภายใน 24 ชั่วโมง จากเศษอาหารที่ไร้ประโยชน์ รังแต่จะเรียกกองทัพ มด หนู และแมลงต่าง ๆ ให้น่ารำคาญใจ กลายเป็นดินปุ๋ยชั้นเลิศสำหรับพืชผักที่จะเป็นอาหารในมื้อต่อไปของเรา และเป็นอาหารชั้นดีสำหรับต้นไม้ ที่คอยสร้างออกซิเจน อากาศบริสุทธิ์ให้กับปอดของเรา

ต้องซื้อเชื้อจุลินทรีย์บ่อยแค่ไหน 

แน่นอนว่าการย่อยเศษอาหาร มีตัวเอกอย่างจุลินทรีย์เป็นตัวดำเนินเรื่อง ทำหน้าที่ย่อยเศษอาหารที่เทลงเครื่อง จากอาหารที่เละ ๆ เปียก แฉะ และสกปรก ให้กลายเป็นดินแห้ง ๆ สะอาดจนสามารถจับได้ด้วยมือเปล่า และเมื่อใช้เครื่องบ่อย ๆ อาจทำให้หลายคนกังวลว่าต้องซื้อเชื้อจุลินทรีย์บ่อย ๆ บอกตรงนี้เลยว่า ไม่เลย เราแทบไม่ต้องซื้อหัวเชื้อ ตราบใดที่เสียบปลั๊กไว้ และมีเศษอาหารคอยหล่อเลี้ยงพวกมันไว้ เพราะอย่างที่บอกไปก่อนนี้แล้วว่า การเสียบปลั๊กไฟไว้ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้จุลินทรีย์ตาย และเศษอาหารต่าง ๆ เป็นอาหารชั้นเลิศให้พวกมันได้เติบโต และแพร่ขยายพันธุ์ เรียกได้ว่าในขณะที่พวกมันได้อาหารเพื่อขยายอาณาจักร (ในเครื่องหมักปุ๋ย) ทำให้ไม่ต้องคอยเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ลงเครื่องบ่อย ๆ จึงแทบไม่ต้องซื้อหัวเชื้อเพิ่มเลย ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้มากทีเดียว 

ส่วนใครที่กังวลเรื่องกลิ่น เพราะการที่ขยะอาหารขึ้นชื่อเรื่องมลพิษทางกลิ่นเหม็นเน่าที่สุด หมดห่วงไปเลย หากไม่เปิดฝา กลิ่นจะไม่เล็ดลอดออกมากวนใจ แต่เมื่อเปิดฝาจะเทอาหาร ก็จะมีกลิ่นคล้ายปุ๋ยหมักอยู่บ้างเล็กน้อย ถ้าเป็นคนที่คลุกคลีกับต้นไม้บ่อย ๆ ย่อมจะคุ้นเคยกลิ่นนี้ดี ซึ่งกลิ่นจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความชื้นภายในเครื่อง ถ้าเผลอใส่เศษอาหารรวมไปกับน้ำเยอะแค่ไหน กลิ่นปุ๋ยหมักก็ฉุนมากขึ้น เพราะจุลินทรีย์กินอาหารเก่ง แต่กินน้ำไม่เก่งเท่าไร ดังนั้นการอ่านคู่มือการใช้งานบนเครื่อง อะไรทิ้งลงเครื่องได้ และอะไรไม่ควรทิ้งลงไปในเครื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพื่อให้เครื่องทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานได้นาน ๆ ทำให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์  

ขนาดแอร์เรายังต้องจ่ายค่าล้างและเปลี่ยนไส้กรองทุก ๆ 5-6 เดือน แต่เจ้าเครื่องหมักที่ว่านี้ แม้จะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เสียบปลั๊กตลอดเวลา แถมยังใช้กำจัดเศษอาหารวันละหลาย ๆ รอบ ทุกวัน แต่แทบจะไม่ต้องเปลี่ยนไส้กรองแพง ๆ แค่ทำความสะอาดแผงกรองให้สะอาดเท่านั้น นับว่าเป็นอีกความคุ้มค่าที่เห็นได้ชัด 

ในการทิ้งขยะทุกประเภท เชื่อว่าแต่ละบ้านมักจะใช้ถุงขยะไป 50% สำหรับขยะเปียก เพราะต้องใช้หลายใบในการรองใส่ขยะอาหารต่าง ๆ  ซ้อนกันหลายชั้นเพื่อกันการเลอะเทอะ กันกลิ่นเหม็น และป้องกันการคุ้ยเขี่ยขยะของสัตว์ต่าง ๆ และเมื่อขยะเศษอาหารถูกจำกัด ทำให้ลดปริมาณการใช้ถุงขยะไปโดยปริยาย และยังทำให้แยกขยะแห้งอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น ขยะที่จะนำไปรีไซเคิลก็มีมากขึ้น ลดการซื้อถุงขยะลง เหลือเงินในกระเป๋าได้มากกว่าเดิม 

เมื่อขยะเศษอาหารถูกกำจัดในบ้านเรา ทำให้ขยะที่จะถูกนำไปยังบ่อขยะหรือหลุมฝังกลบน้อยลง การกำจัดขยะน้อยลง ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศน้อยลงไปด้วย ทำให้นำส่วนนี้ไปพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ ได้มากขึ้น แหล่งสะสมเชื้อโรคก็ลดลงด้วย ส่งผลดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ที่นอกเหนือไปกว่าช่วยกำจัดขยะเศษอาหารในบ้าน หมดปัญหาเรื่องกลิ่นและแหล่งชุมนุมสัตว์ที่ไม่รับเชิญ ได้ปุ๋ยออแกนิกฟรี ไร้กลิ่นเหม็นเน่าในบ้าน ลดการใช้ถุง จ่ายในส่วนเรื่องขยะน้อยลง สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีเครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้าในบ้าน แต่ถ้าต้องการสอบถามข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม ที่อาจช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น แนะนำให้ติดต่อ Hass Thailand เพราะเป็นศูนย์จำหน่ายเครื่องกำจัดเศษอาหารแบรนด์คุณภาพมาตรฐานสากล ที่มีบริการในประเทศไทยและมียอดจำหน่ายติดอันดับต้น ๆ เขามีเจ้าหน้าที่ชำนาญในด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมคอยให้คำปรึกษา รับรองว่าคุณจะได้คำตอบที่ไม่ติดค้างในใจอีกต่อไปว่า การมีเครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้าใช้ในบ้าน มันคุ้มค่าและช่วยให้เกิดความอย่างยั่งยืนได้อย่างไร 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may have missed