ใจความสำคัญในวันมาฆบูชา โอวาทปฏิโมกข์มีอะไรบ้าง และ เอหิภิกขุสัมปทาคือใคร

0
Photo-from-Expique.com_

ภาพจาก : https://www.buddhistdoor.net/

วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่งของชาวพุทธ เนื่องจากวันมาฆบูชา เป็นวันระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์แก่มหาสังฆนิสันนิบาต ซึ่งมีเหตุการณ์ 4 ประการเกิดขึ้นพร้อมกันอย่างน่ามหัศจรรย์ ทำให้วันมาฆบูชาถูกเรียกอีกชื่อ “วันจาตุรงคสันนิบาติ” 

ภาพจาก : https://www.expique.com/

โอวาทปฏิโมกข์ ใจความย่อว่าอย่างไร ทรงแสดงที่ไหน 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นโอกาสเหมาะที่พุทธสาวกได้มาประชุมเป็นพิเศษ จึงได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ณ วัดเวฬุวัน แคว้นมคธ เพื่อแสดงอุดมการณ์และวัตถุประสงค์ รวมถึงวิธีการปฏิบัติในการเผยแพร่พุทธศาสนาได้นำไปใช้ได้ในสังคมทุกรูปแบบ เพื่อให้ได้นำไปเป็นเครื่องมือปฏิบัติในหารหลุดพ้นความทุกข์ ซึ่งถือได้ว่า โอวาทปาติโมกข์ คือ หัวใจหลักของพุทธศาสนา โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 

1. หลักธรรม 3  ประการ 

  • ไม่ทำความชั่วทั้งปวง คือ การไม่ทำบาปทางกาย วาจา ใจ 
  • ทำแต่ความดี ด้วยการทำกุศลให้ถึงพร้อมทุกประการ
  • ทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ  

2. อุดมการณ์ 4

  • ความอดทน คือ อดกลั้นไม่ทำชั่วทั้งปวง 
  • ความไม่เบียดเบียน คือ การงดเว้นจากทำร้าย ทำลาย และเบียดเบียนผู้อื่น 
  • ความสงบ คือ ดำรงตนให้สงบทั้งทางกาย วาจา และ ใจ 
  • นิพพาน คือ การดับทุกข์ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา ด้วยมรรคมีองค์ 8 

3. วิธีการ 6  

  • ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือโจมตีใคร 
  • ไม่ทำร้าย คือ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น 
  • สำรวมในปาติโมกข์ คือ เคารพในระเบียบวินัย กฏหมาย หรือ กฏกติกาการอยู่ร่วมกัน  
  • รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดี พอเหมาะ พอควร 
  • อยู่อย่างสงบ คือ อยู่ในสถานที่สงบ หรือท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม 
  • ฝึกจิตใจให้สงบ คือ การฝึกจิต อบรมจิต หมั่นทำสมาธิภาวนา 

โดยสามารถสรุปหัวใจหลักโอวาทปฏิโมกข์ คือ “ละเว้นความชั่ว ทำความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส” 

จาตุรงคสันนิบาติ หมายความว่าอย่างไร 

สามารถแยกตามคำศัพท์ จาตุรงคสันนิบาติ ดังนี้ 

  • จตุร คือ 4 
  • องค์ คือ ส่วน 
  • สันนิบาติ คือ ประชุม

ดังนั้น ความหมาย จาตุรงคสันนิบาติ คือ การประชุมด้วยองค์ 4 โดยมีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันในวันมาฆบูชา หรือในวันจาตุรงคสันบาติ 4 เหตุการณ์ด้วยกัน ได้แก่ 

  1. ตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งเป็นคืน พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ คือ ดวงจันทร์เดิทางสู่ดาวฤกษ์ที่ชื่อ มฆะ  
  2. พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมเพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน โดยมิได้นัดหมาย 
  3. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6 
  4. พระสงฆ์ 1,250 รูป ล้วนได้รับ “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” 

เอหิภิกขุคืออะไร และ เอหิภิกขุสัมปทาคือใคร  

เอหิภิกขุสัมปทา อ่านว่า เอ – หิ – พิก – ขุ – อุบ – ปะ – สัม – ปะ – ทา  ซึ่งเอหิภิกขุสัมปทา คือ วิธีบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ โดยมีพระพุทธเจ้าทรงประทานบวชให้ด้วยพระองค์เอง หากให้เข้าใจง่าย ๆ  เอหิภิกขุ คือ ภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ นั่นเอง โดย เอหิภิกขุสัมปทาองค์แรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญมหาเถระ ปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า หรือเป็นปฐมเถระในพุทธศาสนา และเอหิภิกขุสัมปทาองค์สุดท้าย คือ พระสุภัททปริพาชก เป็นปัจฉิมสาวกของพระพุทธเจ้า 

อุปสมบท หรือ อุปสัมปทา มีกี่อย่าง 

การอุปสมบทหรือการบวชพระในพุทธศาสนา มี 3 ประเภท ด้วยกัน ได้แก่ 

1. เอหิภิกขุสัมปทา คือ วิธีการบวชที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่กุลบุตผู้ขอบวชด้วยพระองค์เอง เป็นการอนุญาตให้เป็นภิกษุโดยการตรัสพระวาจา ซึ่งจะมี 2 แบบ คือ 

  • บุคคลธรรมดา ขอบวช พระพุทธเจ้าจะตรัสเรียกให้เข้าเป็นภิกษุว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” พระองค์ตรัสเพียงเท่านี้ ก็สำเร็จเป็นภิกษุในพุทธศาสนาแล้ว
  • ผู้บรรลุธรรมวิเศษ คือ ผู้ที่กำจัดกิเลสได้แล้ว ขอบวช พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” โดยจะตัดประโยคท้ายออก (สุดทุกข์โดยชอบ) เพราะผู้ที่กำจัดกิเลสได้แล้ว ย่อมไม่มีทุกข์โดยสิ้นเชิง 

2. ติสรณคมนูปสัมปทา คือ การอุปสมบทด้วยวิธีให้ผู้ขอบวชกล่าวคำรับเอาและเข้าถีงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (เป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยว) โดยอันเนื่องมาจากในพุทธกาล หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงส่งพระสาวกออกประกาศศาสนา เมื่อมีผู้ศรัทธาขอบวช แต่ในขณะนั้นพระสาวกไม่สามารถบวชให้ได้ ต้องพาผู้ศรัทธาเหล่านั้นเดินทางรอนแรมท่ามกลางหนทางที่ทุรกันดาร เพื่อมาเข้าเฝ้าให้พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ พระองค์ทรงเห็นความลำบากเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสามารถบวชด้วยวิธีติสรณคมนูปสัมปทา เพื่อไม่ต้องพาผู้ขอบวชเดินทางมาหาพระพุทธองค์อีกต่อไป 

3. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปาทา คือ การบวชด้วยคำประกาศย้ำ 3 ครั้ง รวมทั้งการประกาศนำเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นวิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สงฆ์บวชแก่กุลบุตร โดยให้ผู้นั้นบวชเป็นสามเณรชั้นหนึ่งก่อน แล้วให้ขออุปสมบท หลังจากนั้น พระกรรมวาจาจาย์จะสวนประกาศย้ำครั้งที่ 1 ว่าสงฆ์จะรับผู้นั้นเป็นภิกษุหรือไม่ เมื่อสงฆ์นิ่งอยู่ จะสวนประกาศย้ำอีก 3 ครั้ง หากไม่มีใครคัดค้าน ให้ถือเป็นอันสำเร็จการเป็นภิกษุ ซึ่งวิธีบวชแบบญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปาทามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลตอนกลาง และหลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้บวชโดย ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปาทา ก็ทรงเลิก เอหิภิกขุสัมปทา และ ติสรณคมนูปสัมปทา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may have missed