โรคตาในแมว เยื่อตาขาวอักเสบ สามารถคร่าชีวิตลูกแมวได้ 

0
Beautiful closeup macro shot of a cat's eye - perfect for background

A beautiful closeup macro shot of a cat's eye - perfect for background

สำหรับบ้านไหนที่เพิ่งมีสมาชิกใหม่เป็นน้องเหมียวน้อย แต่พบปัญหาในลูกแมว ตาแฉะ ตาปิดมีขี้ตาเยอะจนลืมตาไม่ได้ อาจเป็นไปได้ว่า ลูกเหมียวน้อยกำลังติดเชื้อ 

โรคตาในแมวนั้นมีหลากหลายโรคด้วยกัน วิธีรักษาแมวตาแฉะ ลูกแมวตาอักเสบ วิธีรักษาก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของโรค ดังนั้นจะต้องรู้ก่อนว่าน้องเหมี่ยวป่วยด้วยโรคตาในแมวชนิดใด ลูกแมวตาแฉะ สาเหตุเกิดจากอะไร หรืออาจเป็นไปได้ว่ากำลังติดเชื้อคลาไมเดียในแมวเกิดจากแบคทีเรียทำให้ลูกแมวตาอักเสบ บวมแดง และอาจมีอาการป่วยอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคไข้หวัดแมว ซึ่งเป็นอีกโรคที่ทำให้ลูกแมวเสียชีวิตมากที่สุด 

อาการน้ำตาและขี้ตาเยอะผิดปกติ  

อีกหนึ่งในอาการที่มักจะพบได้บ่อยในลูกแมวและแมวโต คือ มีน้ำตาและขี้ตาเยอะผิดปกติ ร่วมกับการมีเยื่อสีขาว ๆ อยู่ในดวงตา ซึ่งอาการตาเปียกและมีเยื่อขาว คือ เยื่อบุตาขาวอักเสบ เกิดจากการที่น้องแมวได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย โดยอาจผ่านจากสารคัดหลั่งของแมวที่มีเชื้อหรือเป็นพาหะ หรือผ่านจากการใช้ของร่วมกับแมวที่มีเชื้อ หากสามารถเห็นบริเวณหัวตาน้องแมวมีสีขาวได้อย่างชัดเจน ควรรีบพาแมวไปหาสัตว์แพทย์ทันที ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาแมวให้หายได้เร็วขึ้น 

เยื่อตาขาวอักเสบ หรือ conjunctivitis คือ การอักเสบของเยื่อตาขาว ซึ่งเกิดที่บริเวณเยื่อบุด้านในหนังตาและคลุมบริเวณตาขาว (sclera) โดยเยื่อตาขาวทำหน้าที่ผลิตเมือกและน้ำตาเมื่อมีปัจจัยกระตุ้น และยังทำหน้าที่ในระบบป้องกันไม่ให้ปรสิตหรือพวกเชื้อโรคที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าผ่านเข้าสู่ดวงตา  

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเยื่อตาขาวอักเสบในแมว 

โรคตาในแมวมีสาเหตุหลัก ๆ คือ เกิดจากโรคการติดเชื้อ (Primary cause) ต่าง ๆ ได้แก่ 

  1. ไวรัสเฮิร์ปีส์-1 ในแมว FHV-1 (Feline herpesvirus type 1) เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดภาวะเยื่อตาขาวอักเสบในแมวได้ทั่วไป โดยแมวทั่วโลกที่ได้รับเชื้อนี้ ประมาณ 80% จะกลายเป็นพาหะนำโรค (Latent carriers) ตลอดชีวิต และ 95% ที่จะแสดงอาการ 
  1. เชื้อคลามัยเดียในแมว (Chlamydophila felis <C.felis>)  เป็นเชื้อที่ก่อให้โรคเยื่อตาขาวอักเสบในแมว โดยเฉพาะในลูกแมว ซึ่งการติดต่อเชื้อจากอากาศหายใจ การสัมผัสกับพาหะนำโรค หรือปนเปื้อนมากับเจ้าของที่ไปสัมผัสแมวมีเชื้อตัวอื่นมา เมื่อลูกแมวหรือแมวได้รับเชื้อมักจะเริ่มต้นอาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนจะแพร่ไปยังดวงตาอีกข้าง มักจะพบว่าแมวมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ และกลายเป็นพาหะนำโรคสู่แมวตัวอื่น และเมื่อลูกแมวโตขึ้นระบบคุ้มกันในร่างกายมีการพัฒนาทำให้ไม่ค่อยพบโรคนี้ในแมวโตอายุ 5 ปีขึ้นไป 
  1. เชื้อไมโครพลาสมา (Mycoplasma spp.) เป็นเชื้อที่สามารถพบได้ในแมวที่มีสุขภาพดี และเชื้อแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อได้รับเชื้อไวรัสเฮอร์ปีั-1 หรือเชื้อคลามัยเดีย ทำให้อาการป่วยของแมวแสดงออกมาอย่างมีนัยสำคัญ 
  1. เชื้อคาลิซิไวรัส (Calicivirus) เชื้อที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเกิดจากแผลที่ลิ้นในช่องปาก ทำให้เกิดเยื่อตาขาวอักเสบในแมว ซึ่งส่วนใหญ่น้องแมวจะสามารถหายได้เอง  

Pathophysiology หรือ พยาธิกำเนิด  

Pathophysiology หรือ พยาธิกำเนิด คือ การที่ลูกแมวหรือน้องแมวได้รับเชื้อจากแมวที่มีเชื้อโดยตรง หรือจากเจ้าของที่มีการสัมผัสแมวมีเชื้อตัวอื่นมาอีกที ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แมวเกิดภาวะเยื่อตาขาว

อาการเยื่อบุตาขาวอักเสบ 

แมวมีขี้ตาเป็นเมือกข้น มีน้ำมูกใส มีอาการระบบทางเดินหายใจส่วนบน และอาจมีภาวะกระจกตาขาวอักเสบร่วมด้วย เมื่อแมวติดเชื้อจะกลายเป็นพาหะไปตลอดชีวิต โดยเชื้อ FHV-1 จะยังคงอยู่ในส่วนประสาทคู่ที่ 5 โดยไม่แสดงอาการออกมา แต่เมื่อถูกกระตุ้น เช่น ความเครียด ร่างกายอ่อนแอ ป่วย ได้รับเชื้ออื่น ๆ หรือมีการใช้ยาสเตียรอยด์ จะทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวนและกลับมาแสดงอาการของโรคให้กำเริบ โดยมีอาการทางระบบทางเดินหายใจส่วนบน และกระจกตาเป็นแผลแต่ไม่รุนแรง 

แต่ใน ลูกแมว ที่ติดเชื้อ FHV-1 จะพบอาการที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน และเยื่อตาขาวอักเสบรุนแรง มากกว่าลูกแมวที่ติดเชื้อคลามัยเดีย หรือ แมวโตที่ติดเชื้อ FHV-1 โดยอาการของโรคที่จะช่วยให้เราสามารถแยกเชื้อก่อโรคได้ ดังนี้ 

  1. เยื่อตาขาวแดง มักพบในกลุ่ม FHV-1 มากกว่า C.felis 
  1. เยื่อตาขาวบวม มักพบใน C.felis มากกว่า FHV-1
  1. ขี้ตาเป็นเมือก มักพบใน C.felis และแมวโตที่มีเชื้อ FHV-1 แต่จะพบขี้ตาเขียวในลูกแมวติด FHV-1 
  1. กระจกตาอักเสบ หรือ มีแผลที่กระจกตา มักพบในแมวที่ติดเชื้อ FHV-1

แมวตาอักเสบ ใช้ยาอะไรรักษาได้บ้าง 

แน่นอนว่า ค่ารักษาแมวตาแฉะ ย่อมไม่ใช่ถูก ๆ ในเบื้องต้นสำหรับเจ้าของหรือคนทั่วไปที่อาจพบเจอแมวจรที่มีภาวะโรคตาดังกล่าว อาจใช้ยารักษาในเบื้องต้น ดังนี้ 

  1. ยาปฏิชีวนะสำหรับหยอดตา (topical ointment) 1% tetracycline ทุก ๆ 6-8 ชั่วโมง ประมาณ 1-2 สัปดาห์ 
  1. ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ในด้านระบบทางเดินหายใจ เช่น doxycycline 10 mg / kg วันละ 1 ครั้ง ประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน 
  1. ยาต้านไวรัสสำหรับหยอดตา (topical antiviral drug) เช่น ซิโดโฟเวียร์ (cidofovir 5%) วิดาราบีน (vidarabine 3%) หรือ ไทรฟลูริดีน (trifluridine 1%) เป็นต้น 
  1. ยาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย เช่น แฟมซิโคลเวียร์ (famciclovir) ในปริมาณ 90 mg / kg ทุก ๆ 12 ชั่วโมง 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may have missed