วิธีเช็ค “หลอดเลือดสมอง” ยังทำงานดีอยู่หรือไม่ ผู้สูงอายุควรระวัง!

0
elderly-male-patients-in-hospital-rooms-old-disea-2022-10-06-03-55-25-utc (1)

อาการหนึ่งที่อันตรายมากๆ สำหรับผู้สูงอายุคือ “โรคหลอดเลือดสมอง” ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต แต่ก็ไม่ใช่เพียงผู้สูงอายุเท่านั้นที่เสี่ยงกับโรคนี้ คนหนุ่มสาวอย่างเราก็เสี่ยงเช่นกัน ดังนั้นเราไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด 

แล้วเราสามารถเช็คได้อย่างไรว่าเราเสี่ยงหรือไม่ มาเช็คไปพร้อมๆ กันทั้งคุณพ่อคุณแม่ ปู่ย่าตายาย และเหล่าคุณลูกๆ ก็เช่นกันนะ 

รู้จักโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)

โรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากภาวะการทำงานของหลอดเลือดสมองบกพร่อง ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทัน เนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน และเนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย ส่งผลให้เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา หรือสามารถเสียชีวิตได้ในทันทีหากเกิดอาการรุนแรง

โดยโรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

  • ขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง พบได้มากถึง 80% ของโรคนี้ทั้งหมด โดยส่วนมากเกิดจากไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด จนเกิดเป็นหลอดเลือดสมองตีบอุดตัน ไม่สามารถวนเลือดไปที่สมองได้อย่างเพียงพอ 
  • เลือดออกในสมอง เกิดจากหลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด พบได้น้อยกว่าด้านบน ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจากหลอดเลือดอ่อนแอหรือเปราะบาง ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้นก็ฉีกขาด และเกิดจากรรมพันธุ์หรือโดยกำเนิดก็ได้

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

เราสามารถพบอาการของโรคหลอดเลือดสมองได้หลายรูปแบบ โดยหลักๆ ที่พบได้บ่อยจะมีดังนี้

  • อาการอ่อนแรง หรืออัมพฤกษ์บางส่วนของร่างกาย ส่วนมากมักเป็นกับร่างกายข้างใดข้างหนึ่ง เช่นครึ่งซีกซ้าย
  • อาการชา สูญเสียความรู้สึกบางส่วน มักพบกับร่างกายข้างใดข้างหนึ่งเช่นเดียวกับอาการอ่อนแรง
  • ปัญหาเกี่ยวกับการพูด เช่น พูดไม่ได้ พูดติดๆ ขัดๆ หรือไม่เข้าใจคำพูด
  • ปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่นเดินเซ หรือวิงเวียนศีรษะเฉียบพลัน
  • สูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือมองเห็นภาพซ้อน

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาจเกิดขึ้นซักพักและหายไปเอง หากพบเจอบ่อยครั้ง เสี่ยงต่ออาการขาดเลือดถาวร และเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตในที่สุด

วิธีเช็คหลอดเลือดสมอง

เราสามารถเช็คตัวเราได้ง่ายๆ 2 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1: หงายมือทั้งสองข้าง ยื่นออกไปข้างหน้าในท่าเหยียดตรง หลับตาและนับ 1 – 10

วิธีที่ 2: ชูนิ้วชี้ขึ้นทั้ง 2 ข้าง หันปลายนิ้วเข้าหากัน หลับตานับ 1 – 10 ในขณะนับก็ค่อยๆ เลื่อนนิ้วพยายามให้มาชนกัน

หลังจากนับถึง 10 พบว่ามือทั้งสองข้างอยู่ในระนาบเดียวกัน หรือปลายนิ้วชนกัน แสดงว่าหลอดเลือดในสมองเรายังทำงานได้ดีอยู่ แต่หากพบว่ามือไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน โดยเฉพาะหากห่างกันมากกว่า 10 เซนติเมตร หรือปลายนิ้วห่างกันเกิน 5 เซนติเมตร ขอแนะนำว่าให้ไปพบแพทย์โดยด่วย เพราะเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว

ทางที่ดีที่สุดแม้จะเช็คด้วยตนเองแล้วจะไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง แต่เราก็ควรที่จะไปตรวจสุขภาพประจำปี ออกกำลังกายเป็นประจำ และทานอาหารให้มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อที่เราจะได้ลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ ไปในตัว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may have missed