วูบ หมดสติ ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม
ความถี่ของข่าวเรื่องพบคนวูบ หมดสติ และเสียชีวิตฉับพลัน เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้หลายคนผวาว่าจะเกิดขึ้นกับตน เพราะ อาการวูบ คือ อาการคล้ายหมดสติชั่วคราว ที่เราไม่สามารถควบคุมร่างกายตนเองได้เลย และสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ยิ่งเดี๋ยวนี้ สภาพาอากาศแปรปรวน เมื่อร้อนก็ร้อนจัด จนทำให้มีคนเสียชีวิตจากอาการฮีทสโตรกไปไม่น้อย ไหนจะโรคใหม่ ๆ ที่แฝงตัวไม่ให้รู้ตัว รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งการกิน การทำงาน และการพักผ่อน
วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเรื่องของอาการวูบกันค่ะ สาเหตุ อาการ และการป้องกัน เพื่อทำความเข้าใจ และรู้วิธีป้องกันตนเองในเบื้องต้น ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดอาการวูบ
อาการวูบเกิดสาเหตุอะไร
อาการวูบชั่วขณะ หมดสติ เกิดจากการที่สมองขาดอากาศและเลือดไปหล่อเลี้ยงในช่วงเวลาสั้น ๆ หรืออาจเกิดจากมีเนื้องอกในสมอง สมองทำงานผิดปกติ หรืออาจบ่งบอกถึงสัญญาณของโรคอื่น
- เปลี่ยนอิริยาบถกระทันหัน
- ยืนเป็นเวลานาน
- มีอาการอ่อนเพลีย
- ความดันต่ำ หรือ หลอดเลือดขยายตัว
- โรคเส้นเลือดในสมองตีบชั่วคราว
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤกษ์
- มีอาการชักจากโรคลมบ้าหมู
- มีโรคความผิดปกติของหัวใจ
- ระบบประสาทหูชั้นในผิดปกติ
- ใช้สารเสพติด
- กำลังตั้งครรภ์
- มีภาวะขาดน้ำ อาจเนื่องจากเจ็บป่วย ท้องเสีย อาเจียน เหงื่อออกมาก เป็นต้น
- ร่างกายปรับตัวไม่ทัน เช่น สภาพอากาศร้อนจัด อยู่ในสถานที่แออัด เป็นต้น
- การใช้ยาบางชนิด
อาการวูบเป็นอย่างไร
- คลื่นไส้ วิงเวียน
- ปวดศีรษะ
- สับสน มึนงง ง่วง ซึม
- พูดไม่ชัด
- ตัวสั่น ผิวซีด
- รู้สึกชา
- อ่อนเพลีย
- ได้ยินเสียงไกล ๆ
- หัวใจเต้นเร็ว
- ชีพจรเต้นอ่อน
- เหงื่อออกเยอะกระทันหัน
- อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- การมองเห็นผิดปกติ เช่น เห็นภาพไม่ชัด เห็นเป็นจุด
อาการวูบแบบไหนส่อถึงอันตราย ควรรีบไปพบแพทย์
- หมดสติ
- มีอาการวูบ ชักเกร็ง
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด
- เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- มีโรคประจำตัวบางประเภท เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
- มีอาการเหมือนจะวูบแต่ไม่วูบ
- สงสัยว่าตั้งครรภ์
- มีอาการวูบมากกว่า 1 ครั้ง และมักจะเป็นนานกว่า 2 นาที จึงจะได้สติ
นอกจากนี้อาการวูบ หมดสติ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น
- โรคลมชัก
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- โรคหลอดเลือดสมองตีบ
- โรคหลอดเลือดสมองแตก
อาการวูบ หมดสติ ป้องกันได้อย่างไร
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
จากข้อมูล Framingham Heart Study เผยว่า ส่วนใหญ่จะพบอาการวูบ หมดสติ ในผู้สูงอายุถึง 23% ในขณะที่พบได้ในกลุ่มคนทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 3% และผู้ที่เคยมีประวัติอาการวูบมาก่อน มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นไดอีก 1 ใน 3 เท่า ซึ่งมักจะเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ อันเนื่องจากความเสื่อมประสิทธิภาพการทำงานของระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้องโดยตรง อาจส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้เมื่อเกิดอาการวูบ เช่น ขณะขับรถ ทำงานกับเครื่องจักร เป็นต้น รวมไปถึงในสายงานอาชีพบางประเภท เช่น พนักงานขับรถ นักบิน นักประดาน้ำ คนงานก่อสร้าง ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุหลังจากมีอาการวูบหรือหมดสติได้