แบรนด์ Schneider Electric ดีไหม พวกเขารู้จักอะไร? ABB เหมือนกับ Schneider หรือไม่? อันไหนดีกว่ากัน?
แบรนด์ Schneider Electric ดีไหม
Schneider Electric คือ ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งเป็นแบรนด์ยักษ์ใหญ่จากประเทศฝรั่งเศส โดยมีสำนักงานใหญ่ที่รุแอย์-มาลแมซงร์ดี และเอพีซีในสหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นเครือบริษัทมหาชนในสหภาพยุโรปที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 180 ปี ซึ่งเป็นผู้นำด้านพลังงานไฟฟ้าอย่างแท้จริง และคนไทยเองก็คุ้นเคยมาตลอดกว่า 40 ปี (กับ Square D ก่อนจะมาเป็น ชไนเดอร์ อิเล็คทริค) โดยเฉพาะ เบรกเกอร์ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เช่น รุ่น Square D ที่เป็นแบบ plug in ที่นิยมใช้ตามอาคารบ้านเรือนในไทยมายาวนาน
Schneider Electric มีการพัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้ามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ในครัวเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับงานอุตสาหกรรม และอาคารเชิงพาณิชย์ โดยมีสเปคให้เลือกหลายหลาย และตอบโจทย์ทุกรูปแบบของการใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งคนไทยเราจะรู้จักกันดี และเมื่อต้องการจะหาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้ามีคุณภาพ มักจะมีชื่อ ชไนเดอร์ เป็นชื่อแรก ๆ ที่คนไทยพูดถึง ในบรรดายี่ห้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มักจะติดอันดับต้น ๆ ด้วยกัน ได้แก่ Schneider Electric , ABB , Yazaki , HACO และ SAFE T CUT
จะเห็นได้ว่า Schneider Electric และ ABB ตามไล่ ๆ กันมาเลย แล้ว 2 ตัวนี้จะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ยี่ห้อไหนดีกว่า เราจะไปต่อจากนี้กันเลย
ABB เหมือนกับ Schneider หรือไม่ อันไหนดีกว่ากัน
หลายคนที่เมื่อต้องการจะซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าสักชิ้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง ๆ ด้วยกัน สิ่งแรก ๆ เลยคือ จะซื้อยี่ห้อไหนดี เบรกเกอร์ยี่ไหนดี ABB และ Schneider ต่างก็เป็นแบรนด์หรือยี่ห้ออุปกรณ์ไฟฟ้า เหมือนกับ บรีส โอโม่ เปา ที่ต่างยี่ห้อแต่ก็คือผงซักฟอก ใช้สำหรับซักทำความสะอาดเสื้อผ้าเหมือนกัน แต่ก็อาจจะมีคุณสมบัติเสริมอื่น ๆ ที่ต่างกันออกไป ส่วนจะอันไหนดีกว่ากัน ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะในการนำไปใช้ ความสะดวก และความชอบส่วนตัวของผู้ใช้ เราจะยกตัวอย่างของการเลือกตู้คอนซูมเมอร์ พร้อมตัวอย่างตู้คอนซูมเมอร์ทั้ง 2 แบรนด์นี้มาให้ลองเปรียบเทียบกันคร่าว ๆ
วิธีการเลือกซื้อตู้คอนซูมเมอร์
เนื่องจากตู้คอนซูมเมอร์เป็นอีกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมโยงกับความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า จึงควรมีการติดตั้งไว้ภายในบ้านและอาคารทุกแห่งที่มีการใช้กระแสไฟ และเมื่อจะนำตู้คอนซูมเมอร์มาติดไว้ใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรเลือกจากปัจจัยดังต่อไปนี้
1. เบรกเกอร์
สิ่งสำคัญในตู้คอนซูมเมอร์ คือ เบรกเกอร์ ซึ่งเบรกเกอร์ที่นิยมใช้งานนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ แบบ RCBO และ แบบ MCB โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมีการทำงานที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ตัวเบรกเกอร์แบบ RCBO นั้นจะทำการตัดไฟทั้งหมดในระบบทันที เมื่อพบว่ามีไฟรั่วไม่ว่าในบริเวณใดก็ตาม ในขณะที่เบรกเกอร์แบบ MCB จะตัดไฟเฉพาะจุดที่มีปัญหาเท่านั้น แต่ถ้าจะป้องกันไฟทั้งหมด ต้องติดตั้งเบรกเกอร์เพิ่ม
2. จำนวนช่องตู้คอนซูมเมอร์
ปัจจุบันมีการระบุจำนวนช่องตู้คอนซูมเมอร์จำหน่าย โดยมีตั้งแต่ตู้คอนซูมเมอร์ 2 ช่อง ตู้คอนซูมเมอร์ 4 ช่อง ไปจนถึงตู้คอนซูมเมอร์ 20 ช่อง แต่ที่นิยมมากจะเป็นตู้คอนซูมเมอร์ 6 ช่อง และตู้คอนซูมเมอร์ 10 ช่อง โดยช่องเหล่านี้มีไว้สำหรับใช้ติดตั้งร่วมกับเบรกเกอร์ย่อย ภายในบ้านหรือภายในอาคารมีเบรกเกอร์ย่อยเท่าไร ควรเลือกตู้คอนซูมเมอร์ที่มีจำนวนช่องตามจำนวนเบรกเกอร์ย่อยที่มีทั้งหมด หรืออาจมากกว่าก็ได้ เผื่อต้องการติดตั้งเบรกเกอร์ย่อยเพิ่มในอนาคต ก็จะสามารถเพิ่มเข้าภายในตู้ได้เลย
3. มีเครื่องตัดไฟรั่วมาพร้อมกับตู้คอนซูมเมอร์
ตู้คอนซูมเมอร์ต้องทำงานร่วมกับเบรกเกอร์ ซึ่งเบรกเกอร์บางชนิดสามารถตัดไฟรั่วได้ แต่ต้องมีช่องในการติดตั้งเพิ่ม ดังนั้นนอกจากควรจะเลือกตู้คอนซูมเมอร์ที่มีช่องเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว ควรเลือกตู้คอนซูมเมอร์ที่มีเครื่องตัดไฟรั่วมาให้พร้อมเลย เพราะจะยิ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัย และยังคุ้มค่าต่อการใช้งานมากขึ้น โดยจะต้องตรวจสอบและทดลองการใช้งานให้ละเอียดขณะที่ทำการติดตั้ง เพื่อเช็กให้มั่นใจว่าอุปกรณ์พร้อมทำงานได้อย่างปลอดภัยเมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้จริง
4. วิธีติดตั้งที่เหมาะสมกับแต่ละบ้าน
ก่อนจะเลือกซื้อคอนซูมเมอร์ จะต้องดูการติดตั้งเบรกเกอร์ที่มีอยู่ก่อนว่าเป็นลักษณะแบบใด ด้วยปัจจุบันนี้ ตู้คอนซูมเมอร์มีการติดตั้ง 2 แบบ ได้แก่
- แบบ Plug-On จะไม่มีการเดินสายไฟจากเมนเบรกเกอร์ไปยังเบรกเกอร์ย่อย แต่จะใช้บัสบาร์ทำงานร่วมกันแทน ทำให้ไม่มีสายไฟเยอะจนเกะกะวุ่นวายมากนัก
- แบบ DIN Rail คือการติดตั้งที่จะต้องมีการเดินสายไฟไปตามเบรกเกอร์ย่อยจุดต่าง ๆ ทำให้ต้องมีรางไฟสำหรับสายไฟยึดเกาะ (รางปีกนก)
ยกตัวอย่างตู้คอนซูมเมอร์ระหว่าง ของ ABB และ Schneider
ABB รุ่น SCP
ตู้คอนซูมเมอร์รุ่นนี้รองรับการใช้งานร่วมกับเบรกเกอร์ย่อย ตั้งแต่ 7 – 20 ช่อง เหมาะกับการใช้ในบ้านขนาดใหญ่ หรืออาคารพาณิชย์ ติดตั้งด้วยระบบ Plug – On ควบคุมไฟแบบ 1 เฟส 2 สาย ตู้แข็งแรง ทนทาน รองรับแรงกระแทกได้ในระดับหนึ่ง ติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพิ่มได้ แต่ต้องตรวจสอบวงจรและพลังงานไฟฟ้า
Schneider รุ่นS9HCL110
อุปรกณ์ไฟฟ้ามาตรฐาน รุ่นนี้เป็นตู้แบบ 10 ช่อง ติดตั้งแบบ Plug-On มาพร้อมกับ กราวด์บาร์ ควบคุมไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย ทนกระแสลัดวงจรได้ถึง 10 kA และมีการป้องกันในระดับ IP 4X ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย
นอกจากนี้การติดตั้งตัวเบรกเกอร์ลูกย่อย หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ กับตัวตู้ไฟ ของ Schneider จะเป็นแบบเป็น Plug เสียบเข้าไป ส่วนของ ABB มักจะเป็นแบบ DIN type (รุ่นเกาะราง) และเมื่อประกอบเข้าตู้ งานจะไม่ค่อยเป๊ะเท่าไร แต่อาจเหมาะกับคนที่ชอบออกแบบจัดสรร แต่ถ้าต้องการความสะดวก Schneider หาซื้อได้ง่ายที่ SQD Group ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่าย Schneider อย่างเป็นทางการ สะดวกมาก อีกทั้งระบบการทำงานเป็นแบบเฉพาะจุด ไฟรั่วหรือไฟเกินจุดไหนตัดเฉพาะจุดนั้น ทำให้ยังคงมีไฟใช้ในส่วนบริเวณอื่น ๆ ไฟไม่ดับทั้งบ้าน และยังมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยในการใช้งาน เพราะ Schneider คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหล่าวิศวกรไฟฟ้าให้ความไว้วางใจและแนะนำเป็นอันดับต้น ๆ เสมอมา