5 วิธีใช้ปุ๋ยอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Plants background with biochemistry structure,Smart virtual screen interface on blurred gentle nature background. Sustainable energy.
ราคาปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเคมีมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากการขึ้นราคาวัตถุดิบ รวมไปถึงค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ที่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเกษตรกรต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น เพื่อลดภาระที่ไม่จำเป็น จึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างที่เคยทำมาเป็นประจำก่อนนี้ ด้วยเทคนิคการใช้ปุ๋ยให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้
วิธีการใช้ปุ๋ยให้เกิดประโยชน์ที่สุด

1. วิเคราะห์ดินก่อนใส่ปุ๋ย
ควรตรวจสอบและวิเคราะห์ดินว่าขาดขาดธาตุอาหารอะไรบ้าง เพื่อจะได้เติมธาตุอาหารให้เหมาะกับชนิดของพืชที่จะปลูก และช่วยให้เลือกสูตรปุ๋ยได้ตรงกับความต้องการของพืชมากที่สุด เป็นการลดใช้ปุ๋ยสูตรที่ไม่จำเป็น

2. ปรับค่า pH ของดินให้อยู่ที่ 6-6.5
ดินที่มีค่า pH 6 – 6.5 เป็นข่วงค่า pH ที่พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารได้ทุกชนิด ลดการสูญเสียธาตุอาหารโดยไม่จำเป็น จึงนับว่าเป็นค่าที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชมากที่สุด การปรับค่า pH ของดิน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สารปรับปรุงดิน เช่น กรดฟูลวิก กรดฮิวมิค หรือ โดโลไมท์ ในกรณีที่ดินมีสภาพเป็นกรด หรือมีค่า pH ต่ำกว่า 6 แต่ถ้าหากดินมีสภาพเป็นด่าง หรือมีค่า pH มากกว่า 7 อาจใช้น้ำชะล้างเกลือที่อยู่บนหน้าดินออกไป เป็นต้น

3. แบ่งใส่ปุ๋ยในปริมาณน้อย ๆ แต่ใส่บ่อย ๆ
แบ่งปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ให้น้อยลง แต่ใส่บ่อยครั้ง จะช่วยรักษาธาตุอาหารในดินได้นานขึ้น เช่น ธาตุไนโตรเจน ที่มักจะระเหิดไปในอากาศ ทำให้พืชดูดซึมธาตุไนโตรเจนได้เพียง 30% และควรทำการขุดบริเวณโคนต้นก่อนใส่ปุ๋ย แล้วฝังกลบพร้อมกับรดน้ำทันที เพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหารจากการระเหิดไปในอากาศ

4. สลับใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยอินทรีย์เคมีทดแทน
ใส่ปุ๋ยแบบสลับ ระหว่างปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์เคมีทดแทน แม้ว่าปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารมากกว่า แต่ปุ๋ยอินทรีย์มีสารอาหารที่พืชต้องการเช่นกัน อีกทั้งอินทรียวัตถุจะช่วยลดความเป็นกรดในดิน และปรับสภาพดินให้ร่วนซุย ทำให้พืชสามารถดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น ส่วนคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์เคมีก็ใกล้เคียงกับปุ๋ยเคมีอีกด้วย การใช้วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

5. ทำความเข้าใจหน้าที่ของธาตุอาหารแต่ละตัว
จะต้องทำความเข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของธาตุแต่ละตัว เพื่อจะได้ใส่ปุ๋ยสูตรตรงกับความต้องการของพืชที่ปลูก ได้ผลลัพธ์ทางการเกษตรตรงกับความต้องการ
- ไนโตรเจน (N) บำรุงต้น และ ใบ
- ฟอสฟอรัส (P) บำรุงราก และ ดอก
- โพแทสเซียม (K) บำรุงผล ช่วยให้พืชแข็งแรง
- แคลเซียม (Ca) ช่วยให้เนื้อเยื่อพืชแบ่งตัวและแข็งแรง
- โบรอน(B) เร่งดอก และ การผสมเกสร