ชักโครกชิ้นเดียว กับ ชักโครกสองชิ้น แตกต่างกันอย่างไร 

0

The plumber in overalls fixes the toilet

โถสุขภัณฑ์ หรือ ชักโครก อุปกรณ์สำคัญของทุกบ้าน ไม่เพียงแต่สมาชิกทุกคนในบ้านต้องผลัดเวียนกันใช้อยู่ทุกวัน ยังต้องรองรับแขกผู้มาเยี่ยมเยือน จึงไม่ควรมองข้ามการให้ความสำคัญของการเลือกใช้สุขภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเหมาะสมต่อรูปแบบการใช้งานของแต่ละบ้าน โดยวันนี้เราจะมาดูความแตกต่างระหว่าง ชักโครกชิ้นเดียว กับ ชักโครกสองชิ้น ต่างกันอย่างไร เผื่อจะช่วยให้ใครที่กำลังจะเลือกซื้อชักโครกใหม่เข้าบ้าน สามารถตัดสินใจเลือกรูปแบบชักโครกได้ถูกใจและตอบโจทย์ที่สุด

ชักโครกมีกี่ประเภท

ชักโครกมี 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 

1. แบบตักราด คือ โถที่ใช้น้ำตักราดแบบรุ่นเก่า 

2. ชักโครกแบบฟลัชวาล์ว คือ ชักโครกที่อาศัยแรงดันน้ำ นิยมใช้ในสถานที่สาธารณะ 

3. ชักโครกแบบฟลัชแทงค์ คือ โถชักโครกมีถังพักเก็บน้ำไว้ด้านหลัง ซึ่งจะมี 2 แบบด้วยกัน คือ 

  • ชักโครกแบบชิ้นเดียว (One Piece) คือ ชักโครกที่ออกแบบให้ถังพักน้ำและโถนั่งรวมเป็นชิ้นเดียวกัน 
  • ชักโครกแบบสองชิ้น (Two Piece)  คือ ชักโครกที่ออกแบบให้ถังพักน้ำและโถนั่งแยกกัน การติดตั้งจึงมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากกว่าแบบชิ้นเดียว 

ซึ่งสองแบบนี้เองที่เราจะมาดูกันว่าต่างกันอย่างไร 

ชักโครกชิ้นเดียว 

  • ติดตั้งง่าย เพราะไม่ต้องคอยประกอบชิ้นส่วน
  • ไร้รอยต่อ เพราะถูกหล่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเดียวกัน 
  • ดีไซน์สมัยใหม่ เรียบง่าย 
  • มีขนาดเล็ก ไม่ค่อยสูง เด็กและผู้พิการสามารถใช้งานได้
  • ปัญหาการรั่วซึมน้อย เพราะเป็นสุขภัณฑ์ชิ้นเดียว 
  • ทำความสะอาดง่าย เพราะรูปทรงกลมมน 
  • มีอายุการใช้งานยาวนาน 
  • หากชำรุดส่วนใดส่วนหนึ่ง ต้องเปลี่ยนอะไหล่ยกชุด
  • หาอะไหล่ซ่อมยาก 
  • ราคาสูง

ชักโครกสองชิ้น  

  • การติดตั้งหลายขั้นตอน ซับซ้อน ต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญ
  • มีรอยต่อ เพราะถังพักน้ำและตัวโถสุขภัณฑ์แยกชิ้นกัน
  • รูปทรงค่อนข้างใหญ่และสูงกว่าแบบชิ้นเดียว 
  • มีขนาดและดีไซน์ให้เลือกจำนวนมาก 
  • เป็นสุขภัณฑ์ที่นิยมใช้ในที่พักอาศัยทั่วไป โดยเฉพาะโครงการที่พัก
  • ทำความสะอาดยาก เพราะมีซอกมุมมาก เนื่องจากเป็นอุปกรณ์สองชิ้นแยกกัน 
  • หาซื้ออะไหล่ได้ง่ายกว่า บางชิ้นสามารถเปลี่ยนได้เองโดยไม่ต้องพึ่งช่าง 
  • ซ่อมบำรุงง่ายกว่า สามารถเปลี่ยนแยกชิ้นเฉพาะส่วนที่พังชำรุด เช่น โถนั่งพังก็เปลี่ยนแต่โถ 
  • ราคาย่อมเยากว่า 

เรียกได้ว่า มีข้อดีและข้อเสียกันคนละอย่าง ขึ้นอยู่กับว่าใครชอบหรือสะดวกแบบไหน เพียงแค่หมั่นรักษาความสะอาด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ก็ช่วยให้ใช้งานสุขภัณฑ์ได้อย่างปลอดภัยและคุ้มค่ากับสมาชิกในบ้านแล้วค่ะ 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may have missed