ชวนรู้ 5 คำศัพท์ธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม 

0

วันนี้เรามีคำศัพท์ธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจมาให้เป็นความรู้เพิ่มเติม เผื่อใครที่สนใจเริ่มทำธุรกิจ บ่งบอกว่าธุรกิจเราใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจในขณะนี้

workig-in-green-environment-2021-08-26-19-52-01-utc (1)

เราต่างก็รู้กันดีว่า ปัจจุบันโลกของเราประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ทั้ง สภาพอากาศแปรปรวน ฤดูกาลผิดปกติ โรคระบาด อันเนื่องมาจาก ภาวะโลกร้อน

เพราะสิ่งแวดล้อมถูกทำลายมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นขยะอาหารจากครัวเรือน มลพิษจากเครื่องยนต์ รวมไปถึงด้านธุรกิจต่าง ๆ ของผู้ประกอบการ ที่มุ่งเป้าแต่ผลกำไรและการลดต้นทุน จนทำให้หลาย ๆ กระบวนการผลิต และการใช้พลังงานส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่การผลิต การใช้พลังงานจากถ่านหิน ตลอดไปจนถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมหาศาลในแต่ละวัน จนทำให้โลกของเราเข้าสู่สภาวะโลกร้อนอย่างเต็มตัว 

จากที่นักวิชาการเคยคำนวณถึงเรื่องน้ำแข็งขั้วโลกละลายอีกเป็นร้อยปี แต่สถิติที่บ่งบอกในตอนนี้กลับชี้ให้เห็นว่า มันอาจมาถึงเร็วกว่านั้นเพียงอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทำให้หลายคนต้องหันมาใส่ใจและร่วมมือกันมากขึ้น รวมถึงนักลงทุนและเจ้าของธุรกิจหลายคน ทำให้เกิดเทรนด์ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน และพัฒนาสิ่งแวดล้อมไปสู่ความยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ เราจึงเริ่มเห็นคำศัพท์ใหม่ ๆ ทางด้านธุรกิจกันมากขึ้น วันนี้เรามีคำศัพท์ธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจมาให้เป็นความรู้เพิ่มเติม เผื่อใครที่สนใจเริ่มทำธุรกิจ การบ่งบอกธุรกิจที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจกันมากในขณะนี้ ถือว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ตอบโจทย์ต่อผู้บริโภค และยังดีต่อโลกของเราด้วยค่ะ 

1. Bio-Circular-Green Economy (BCG) 

Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการนำแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม มายกระดับ 4 อุตสาหกรรมหลัก ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ให้เป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือเศรษฐกิจสีเขียว โดยมุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

2. Carbon Capture Utilization (CCU) 

CCU หรือ Carbon Capture คือ การดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ประโยชน์ เช่น การดักจับคาร์คาร์บอนจากแหล่งกำเนิดขนาดใหญ่ โรงงานไฟฟ้า โรงงานเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นต้น เมื่อดักจับได้แล้ว จะนำไปกักเก็บอีกที ที่เรียกว่า Carbon Capture and Storage หรือ CCS คือ การดักจับและกักเก็บคาร์บอน และนำคาร์บอนที่ดักจับได้ไปใช่ประโยชน์ต่อยอดในด้านอื่น ๆ เช่น นำไปผลิตวัสดุที่มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ นำไปผสมในคอนกรีต เป็นต้น

3. Carbon Footprint 

Carbon Footprint คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน การคมนาคมขนส่ง การผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภค เช่น การทำฟาร์มสัตว์ การใช้ไฟฟ้า การขนส่ง การเดินทางด้วยเครื่องยนต์ต่าง ๆ หรือแม้แต่ขยะอาหารที่ทิ้งในแต่ละมื้อ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น  

4. Carbon Neutrality 

Carbon Neutrality คือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน หมายถึง ปริมาณการปล่อยคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ เท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมา โดยอาจผ่านป่าหรือผ่านช่องทางและวิธีการอื่น ๆ เช่น ลดการใช้พลังงานฟอสซิล ชดเชยการปล่อยคาร์บอนด้วยการปลูกป่า หรือ การซื้อคาร์บอนเครดิต เป็นต้น

5. Net Zero Emissions 

Net Zero Emissions คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มีความสมดุล เท่ากับที่ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับกลับคืนมา เช่น การใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด อย่างการใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ หรือ การกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศ ด้วยการปลูกป่าตรึงคาร์บอนในดิน เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may have missed